BREAST/ CANCER

Last updated: 21 มิ.ย. 2567  |  656 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม

รู้ทัน รู้เร็ว รู้ก่อน รีบรักษา มีโอกาสหายได้

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในผู้หญิง ส่วนในผู้ชายก็พบมะเร็งเต้านมได้เช่นกันแต่ไม่บ่อยนัก จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 37 ของมะเร็งทั้งหมด และยังมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปอด

โดยประมาณ 90% ของมะเร็งเต้านมเกิดจากต่อมน้ำนมและท่อน้ำนม จึงมีโอกาสมากที่จะพบการเกิดมะเร็งในเต้านมทั้งสองข้าง
ทั้งในระยะแรกและหลังจากการตรวจวินิจฉัย อย่างไรก็ดีการตรวจพบมะเร็งในระยะแรกจะช่วยให้การรักษามีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูง ดังนั้นการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม และ การค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในขณะที่ก้อนมีขนาดเล็ก และ ก้อนมะเร็งยังอยู่เฉพาะที่เต้านม ยังไม่แพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะช่วยให้มีโอกาสหายขาดมากขึ้น เมื่อเทียบกับการตรวจพบก้อนมะเร็งที่มีขนาดใหญ่ หรือ กระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว

 

 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม

 มีประวัติเป็นโรคมะเร็งเต้านมในครอบครัว เพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็น 3 – 4 เท่า

 มีประจำเดือนเร็ว มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี เพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็น 2 เท่า

 มีประวัติของโรคมะเร็งเต้านมข้างหนึ่งมาก่อน เพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็นข้างที่เหลือ 5 เท่า

 มีลูกคนแรกช้า มีบุตรคนแรก เมื่ออายุมากกว่า 30 ปี เพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็น 2 เท่า

 มีการให้รังสีรักษาที่เต้านม หรือทรวงอก

 ผู้ไม่มีบุตร พบโอกาสเสี่ยงเป็น 3 เท่า

 ทานยาคุมกำเนิดนานกว่า 5 ปี การให้เอสโตรเจนรักษาวัยหมดประจำเดือนนานเกิน 5 ปี ก็เพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็นมากขึ้น

 หมดประจำเดือนครั้งแรกหลังอายุ 50 ปี เพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็น 2 เท่า

 กรรมพันธุ์ พบโอกาสเสี่ยงเป็น 5 – 10 %(แม่ พี่ น้อง)

 

อาการของมะเร็งเต้านม

 

ในระยะแรกของโรคนี้จะไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ ออกมาทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมอาจไม่รู้ตัวว่าตนเองมีโรคร้ายนอกจากจะได้รับการตรวจด้วยเครื่อง Mammogram ส่วนอาการที่มักปรากฏเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติที่เต้านมมีดังนี้

 คลำพบก้อนเนื้อที่เต้านม หรือใต้รักแร้ 

 มีของเหลวน้ำเหลืองไหลออกมาจากเต้านม บริเวณหัวนมบุ๋มหรือมีแผล

 กดที่เต้านมแล้วผิวหนังบุ๋ม

 ช่วงไม่มีประจำเดือนมีอาการเจ็บบริเวณเต้านม

 เกิดผื่นคันที่เต้านมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

 มีก้อนหนาๆ ในเต้านมหรือใต้แขน

 เต้านมมีผื่น แดง ร้อน ผื่นคล้ายผิวส้ม

 มีอาการปวดบริเวณเต้านม

 

 

อาการของการลุกลามแพร่กระจายของมะเร็งจะมีอาการ ดังนี้

 แขนบวมต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้โตผิดปกติ

 ปวดกระดูกไม่ทราบสาเหตุ

 นำ้หนักตัวลดลงอย่างลวดเร็ว

 เกิดแผลบริเวรผิวหนัง

 เบื่ออาหาร

 

วิธีการตรวจมะเร็งเต้านมมีหลากหลายวิธี ได้แก่

 การตรวจเต้านมด้วยตนเองเบื้องต้น

 การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือพยาบาล

 การตรวจเต้านมด้วย แมมโมแกรม(Digital Mammogram) และอัลตราซาวด์เต้านม (Breast Ultrasound) เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในผู้หญิงทั่วไป

 

การป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยง

ถึงแม้ว่าสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมยังไม่เป็นที่แน่ชัดก็ตาม แต่การปฏิบัติตัวที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงโอกาสเกิดมะเร็งเต้านม ได้แก่

 เลือกรับประทานอาหารที่มะประโยชน์ ให้ครบ5หมู่ เน้นผักผลไม้

 ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนจนเกินไปลดอาหาร มัน เค็ม และปิ้งย่าง หมักดอง

 งดสูบบุหรี่

 งดเครื่องดื่มที่แอลกอฮอล์

 

ระยะของมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมระยะที่ 1 : เชื้อจะยังไม่กระจายโดยก้อนมะเร็งจะมีขนาดเล็กว่า 2 เซนติเมตร
มะเร็งเต้านมระยะที่ 2 : เชื้ออาจเริ่มแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง ก้อนเนื้อจะมีขนาด 2-5 เซนติเมตร
มะเร็งเต้านมระยะที่ 3 : เชื้อจะเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองอย่างมากทำให้เนื้อบริเวณรักแร้ติดกับอวัยวะใกล้เคียง ในระยะนี้ก้อนเนื้อจะมีขนาดมากกว่า 5 เซนติเมตร
มะเร็งเต้านมระยะที่ 4 : เชื้อจะแพร่สู่อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น สมอง กระดูก หรือปอด เป็นต้น ระยะนี้ก้อนเนื้อจะมีขนาดได้หลายขนาด

 

วิธีการรักษา

 ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)

 รังสีรักษาบำบัด (Radiation Therapy)

 การผ่าตัด (Surgery)

 ฮอร์โมนบำบัด (Hormonal Therapy)

 การรักษาแบบประคับประคอง (Palliative Care)

 หากวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง แพทย์ก็จะต้องพิจารณาแนวทางในการรักษาให้ผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้เคมีบำบัด การฉายแสง หรือการผ่าตัด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระยะของโรคว่าอยู่ในระยะใด

ถ้าคุณกำลังป่วยเป็นมะเร็ง
กำลัง หมดหวัง ท้อแท้
เป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่.....ของการรักษามะเร็ง
ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง....... ไม่ให้ลุกลาม
เป็นการรักษามะเร็ง ด้วยวิธี ปลอดภัย

และยังใช้ควบคู่กับการรักษาทางการแพทย์ปัจจุบันได้ทำให้การรักษาเห็นผลมากขึ้นอีกด้วย


ทุกๆคำถามมีคำตอบ

สารสกัดเซซามิน......จากงาดำ เข้าไปทำอะไรกับ เซลล์มะเร็ง

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้