Last updated: 15 ก.ย. 2565 | 711 จำนวนผู้เข้าชม |
มะเร็งรังไข่…อีกหนึ่งภัยเงียบของผู้หญิง
นอกจากมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ผู้หญิงเรายังต้องระมัดระวังอย่างสม่ำเสมอ เพราะมีอีกหนึ่งโรคมะเร็งร้ายที่อันตรายเป็นอับดับสองรองจาก มะเร็งปากมดลูก
นั่นก็คือ มะเร็งรังไข่ ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดกับผู้หญิงอายุมากเท่านั้น แต่ผู้หญิงที่อายุยังน้อยก็มีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่ได้ และส่วนมากกว่าจะตรวจพบก็มักอยู่ในระยะที่สามและสี่แล้ว
มะเร็งรังไข่…โรคร้ายที่ชอบทำลายผู้หญิง
จากสถิติในประเทศไทยพบว่า มีผู้ป่วยใหม่ที่เป็น “โรคมะเร็งรังไข่” เพิ่มขึ้นประมาณ 5,000 – 6,000 รายทุกปี
และถือว่าเป็นมหันตภัยร้ายเป็นมฤตยูเงียบที่แอบคร่าชีวิตผู้หญิงไปไม่น้อย ที่คร่าชีวิตผู้ป่วยเป็นอันดับต้น ๆ ในบรรดาโรคมะเร็งที่เกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิง
มะเร็งรังไข่สามารถพบได้ทุกช่วงอายุ แต่จะพบมากผู้หญิงช่วงอายุมากกว่า 50 ปี หรือช่วงวัยหมดประจำเดือน
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้หญิงที่มีอายุน้อยเริ่มมีความเสี่ยงกับการเป็นมะเร็งรังไข่ กันมากขึ้นซึ่งอาจเนื่องจากความผิดปกติของยีนทางกรรมพันธุ์
หรือจากสภาพแวดล้อมและอาหารการกินที่เปลี่ยนไป รวมทั้งมลพิษต่าง ๆ ที่เพิ่มมากขึ้น
8อาการ...และสาเหตุของโรค มะเร็งรังไข่
1.ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง
2.ท้องโตขึ้น ท้องน้อยนูนผิดปกติ
3.ปัสสาวะบ่อย หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จากการที่ก้อนมะเร็งอาจไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ
4.ท้องผูกรื้อรัง จากการที่ก้อนมะเร็งไปเบียดลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่
5.คลำเจอก้อนเนื้อบริเวณท้องน้อย
6.เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
7.มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด
8.มีน้ำในช่องท้อง หรือท้องมวน
ใครบ้างมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งรังไข่
• มีประวัติคนในครอบครัวโดยเฉพาะมารดา พี่สาว/น้องสาว หรือลูกสาวเคยเป็นมะเร็งรังไข่
• อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
• มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี
• หมดประจำเดือนช้ากว่าอายุ 55 ปี
• ยังไม่เคยตั้งครรภ์/ คลอดบุตร
• มีประวัติสุขภาพเคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งลำไส้
โรคมะเร็งรังไข่...สามารถแบ่งได้ 4 ระยะ
ระยะที่ 1 มะเร็งจะยังอยู่ในรังไข่ไม่ลุกลามออกมาภายนอก
ระยะที่ 2 มะเร็งเริ่มลุกลามเข้าสู่อวัยวะในท้องน้อย เช่น มดลูก เยื่อบุช่องท้อง
ระยะที่ 3 มะเร็งลุกลามเข้าเนื้อเยื้อหรืออวัยวะในช่องท้องน้อย เช่นต่อมน้ำเหลือง เยื่อบุช่องท้องส่วนเหนือช่องท้องน้อย และมีน้ำในช่องท้อง
ระยะที่ 4 ระยะที่มะเร็งแพร่เข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะอื่นๆ พบว่ามักจะกระจายสู่ปอด ตับ และสมอง
การรักษา “มะเร็งรังไข่”
ผ่าตัดส่วนที่เป็นมะเร็งออก
ทำเคมีบำบัด
อย่างไรก็ตามเราก็รักษาสุขภาพตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เลือกรับประทานอาหารที่ปลอดสารก่อมะเร็ง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อรักษาภูมิต้านทานร่างกายให้ดีอยู่ตลอดเวลา และหากคนในครอบครัวของเราเป็นมะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ยิ่งต้องทำให้เราต้องเฝ้าระวังตนเองมากขึ้น
หมั่นตรวจร่างกายและตรวจภายในเป็นประจำทุกปีนะคะ มะเร็งรังไข่เป็นภัยเงียบสำหรับผู้หญิงทุกคน
หากสุขภาพดี ชีวิตคนเราก็คงจะไม่ต้องการอะไรไปมากกว่านี้แล้ว การดูแล ป้องกันตัวเองก่อนที่จะเป็นโรคร้ายแรงต่างๆเ ป็นสิ่งสำคัญ เพราะการเจ็บป่วยแต่ละครั้งใช่ว่าจะเสียแต่สุขภาพเท่านั้น ยังรวมไปถึงค่ารักษาพยาบาลที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว
4 ก.ค. 2565
18 ก.ค. 2565
5 ก.ค. 2565
4 ก.ค. 2565