CERVICAL /CANCER

Last updated: 10 ก.ค. 2565  |  960 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สัญญาณเตือนมะเร็งปากมดลูก

8 สัญญาณเตือนของมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก ถือเป็นโรคร้ายที่ยอดฮิตไม่แพ้มะเร็งเต้านมเลยนะคะพบได้บ่อยมากในผู้หญิง และกว่าที่สาว ๆ จะรู้ตัวว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก หลายคนก็เข้าขั้นลุกลามไปแล้ว ทำให้รักษาไม่ทัน และด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้ผู้หญิงเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกกันเป็นจำนวนมาก  และใน 1 ปีมีผู้ป่วยจากมะเร็งปากมดลูกโดยเฉลี่ยถึง 6,000 รายเลยทีเดียว

มะเร็งปากมดลูกนั้นเกิดจาก เซลล์บริเวณปากมดลูกเกิดความผิดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้จากการระคายเคืองของสารเคมี ไปจนถึงสาเหตุที่พบมากที่สุดคือ การติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus)

8 สัญญาณเตือนว่าเราอาจะเป็นมะเร็งปากมดลูก

1.เลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจจะเป็นตอนที่มีเพศสัมพันธื หรือประจำเดือนที่มาผิดปกติ

2. ตกขาวที่มีเลือดปน
3. เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
4. มีสารคัดหลั่งออกมาจากช่องคลอดจำนวนมาก และอาจมีเลือดปน
5. ปวดท้องน้อยบ่อยเกินปกติ แม้จะไม่ใช่ช่วงใกล้มีประจำเดือนก็ตาม หรือช่วงที่ใกล้มีประจำเดือน
6. เบื่ออาหาร ไม่รู้สึกอยากอาหาร จนน้ำหนัดลดลงอย่างผิดสังเกต
7. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ รู้สึกไม่มีแรงอยู่ตลอดเวลา
8. ปัสสาวะบ่อย มีอาการปวดท้องน้อย ท้องน้อยบวม บางครั้งรู้สึกปวดปัสสาวะแต่ปัสสาวะไม่ออก

ทั้งนี้อย่างที่บอกไปตอนแรกว่าอาการในระยะแรกเริ่มของโรคมะเร็งปากมดลูกนั้นมักจะไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมาให้เห็น
ดังนั้นหากใครที่เริ่มมี 8 อาการที่ได้บอกไปข้างต้น ก็แสดงว่ามะเร็งปากมดลูกกำลังเป็นหนักมากขึ้น ซึ่งหากไปรักษาช้า โรคนี้ก็จะหายได้ยาก หนักสุดอาจถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้
ดังนั้นสาว ๆ จึงควรเข้ารับการตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอ เพราะโรคนี้ยิ่งเรารู้เร็วเท่าไร โอกาสรักษาให้หายก็จะมีมากขึ้นเท่านั้นค่ะ

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก...อีกหนึ่งมะเร็งของผู้หญิงที่ควรรู้จัก

เป็นมะเร็งทางนรีเวชที่พบได้บ่อยรองจากมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย จากสถิติล่าสุด 2560 พบมากกว่าในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความสัมพันธ์กับความสมดุลของฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย ซึ่งอาจ
สร้างขึ้นเองหรือได้รับฮอร์โมนจากภายนอก เช่น การทานอาหารบางชนิด อาหารเสริม ยาบางชนิด ที่มีผลทำให้ปริมาณฮอร์โมนในร่างกายสูงขึ้น ซึ่งจะกระตุ้น เยื่อบุโพรงมดลูกให้มีการหนาตัวผิดปกติ

ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจภายในยังเป็นเรื่องที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ยังอายและไม่คุ้นเคย และเมื่อเปรียบเทียบมะเร็งปากมดลูกกับมะเร็งมดลูก
พบว่ามะเร็งมดลูกมีอุบัติการณ์ที่พบได้มากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ในขณะที่มะเร็งปากมดลูกมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะประเทศอเมริกา อังกฤษ และทวีปยุโรป
ซึ่งอาจเป็นเพราะประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคและเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น

มะเร็งรังไข่...อีกหนึ่งภัยเงียบที่น่ากลัวของผู้หญิง

มะเร็งรังไข่ คือ การมีเซลล์มะเร็งเจริญเติบโตในรังไข่ ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญในสตรีที่ทำหน้าที่ในการผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง

นอกจากมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ผู้หญิงเรายังต้องระมัดระวังอย่างสม่ำเสมอ เพราะมีอีกหนึ่งโรคมะเร็งร้ายที่อันตรายเป็นอับดับสองรองจากมะเร็งปากมดลูก
นั่นก็คือมะเร็งรังไข่ ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดกับผู้หญิงอายุมากเท่านั้น แต่ผู้หญิงที่อายุยังน้อยก็มีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่ได้ และส่วนมากกว่าจะตรวจพบก็มักอยู่ในระยะที่สามและสี่แล้ว

มะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งทางนรีเวชชนิดร้ายแรง และสร้างความทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วยมากที่สุดก็ว่าได้ ปัจจุบัน มะเร็งรังไข่ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่อาจมีความเกี่ยวข้อง เช่น

• มีประวัติคนในครอบครัวโดยเฉพาะมารดา พี่สาว/น้องสาว หรือลูกสาวเคยเป็นมะเร็งรังไข่
• อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
• มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี
• หมดประจำเดือนช้ากว่าอายุ 55 ปี
• ยังไม่เคยตั้งครรภ์/ คลอดบุตร
• มีประวัติสุขภาพเคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งลำไส้

อาการแสดงของ มะเร็งรังไข่ ในระยะแรกมักจะไม่มีอาการแสดงที่ชัดเจน แต่หากคุณผู้หญิงมีอาการดังต่อไปนี้ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม

การเข้ารับการตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งจะสามารถทำให้เราลดความเสี่ยงของการเกิด มะเร็งรังไข่ได้

ในส่วนของการรักษามะเร็ง หากตรวจพบในระยะเริ่มแรกสามารถผ่าตัดได้ หรือจะใช้วิธีผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ แผลเล็ก สามารถฟื้นตัวและกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น
โดยการผ่าตัดรักษามะเร็งในระยะแรกนั้นง่าย และผู้ป่วยมีโอกาสหายได้ถึง 90%

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

FIBER

18 ก.ค. 2565

COLORECTAL /CANCER

4 ก.ค. 2565

BREAST/ CANCER

4 ก.ค. 2565

Liver Cancer

5 ก.ค. 2565

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้